วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

อนาล็อกมัลติมิเตอร์ รุ่น KS-980

 

อนาล็อกมัลติมิเตอร์ รุ่น KS-980
ครบทุกฟังก์ชันในเครื่องเดียว

  • สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าได้ 1000V ทั้ง AC/DC (ภายในและภายนอก)
  • ฟังก์ชันทดสอบตัวเก็บประจุได้สูงถึง 2000µµF 
  • ฟังก์ชันทดสอบกระแสรั่วไหลและลีคของทรานซิสเตอร์ 
  • ทดสอบความต่อเนื่องด้วยเสียง 
  • การทดสอบแบตเตอรี่ปกป้องวงจรของตัวมิเตอร์ด้วยฟิวส์และไดโอดเมื่อเกิดความผิดพลาด

รายละเอียด 

อนาล็อกมัลติมิเตอร์ รุ่น KS-980

Analog Multimeter KS-980 SUMO



คุณสมบัติ

  • อนาล็อกมัลติมิเตอร์ รุ่น KS-980 ครบทุกฟังก์ชันในเครื่องเดียว
  • วัดแรงดันไฟฟ้าได้ 1000V ทั้ง AC/DC 
  • ฟังก์ชันทดสอบตัวเก็บประจุได้สูงถึง 2000µµF 
  • ฟังก์ชันทดสอบกระแสรั่วไหลและลีคของทรานซิสเตอร์ 
  • ทดสอบความต่อเนื่องด้วยเสียง 
  • การทดสอบแบตเตอรี่ปกป้องวงจรของตัวมิเตอร์ด้วยฟิวส์และไดโอดเมื่อเกิดความผิดพลาด



คลิปวิดีโออธิบายฟังก์ชั่นของแต่ละราคา


ฟังก์ชั่น (Multimeter function)

คลิปวีดีโอสอนการใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ

สอนการใช้งานฟังก์ชั่น AC Voltage & DC Voltage


สอนการใช้งานฟังก์ชั่น Resistance & batt และ วิธีวัดคาปาซิเตอร์ 



สอนการใช้งานฟังก์ชั่น เช็คสถานะทรานซิสเตอร์และค่า LED



การใช้มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก

การวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง 

  • เลือกตําแหน่งที่ต้องการวัดกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า
  • เสียบสายวัดมิเตอร์สีดําที่ขั้วลบ (- COM) และสายวัดสีแดงที่ขั้วบวก (+) เข้ากับมัลติมิเตอร์
  • ตั้งช่วงการวัดที่เหมาะสม ในกรณีที่ทราบค่ากระแสในวงจร ควรตั้งช่วงการวัดให้สูงกว่าค่ากระแสที่ทราบ แต่ในกรณีที่ไม่ทราบค่ากระแสในวงจร ควรตั้งช่วงการวัดที่สูงๆ (0-0.25A) ไว้ก่อน แล้วค่อยปรับช่วงการวัดใหม่ ก่อนปรับช่วงการวัดใหม่ต้องเอาสายวัดออกจากวงจรทุกครั้ง และต้องแน่ใจว่าค่าที่จะวัดได้นั้นมีค่าไม่เกินช่วงการวัดที่ปรับตั้งใหม่


vx


  • นําสายวัดมิเตอร์ไปต่อแทรกหรือต่อแบบอนุกรม โดยใช้หัววัดแตะบริเวณที่ต้องการวัด และต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าทางขั้วบวกของมัลติมิเตอร์ หากเข็มวัดตีเกินสเกลต้องรีบเอาสายวัดมิเตอร์ออกจากวงจรทันที แล้วเลือกช่วงการวัดที่สูงขึ้นจากนั้นทําการวัดค่าใหม่
  • อ่านค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร ซึ่งการอ่านต้องสัมพันธ์กับช่วงที่ตั้งไว้


fd

การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ

  • การวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่จําเป็นต้องให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางขั้วบวกเหมือนไฟฟ้ากระแสตรง เพราะไฟฟ้ากระแสสลับไม่มีขั้วตายตัว ขั้วแรงดันจะสลับไปสลับมาตลอดเวลา กล่าวคือสามารถต่อโดยให้สายวัดเส้นใดอยู่ข้างใดก็ได้ แต่วิธีวัดค่ายังใช้หลักการเดียวกันกับโวลต์มิเตอร์กระแสตรงก่อนที่จะนํามัลติมิเตอร์ไปวัดค่า ต้องทําการปรับมัลติมิเตอร์ให้เป็นโวลท์มิเตอร์กระแสสลับก่อน
  • จากนั้นเลือกช่วงการวัดให้เหมาะสม โดยหมุนสวิทช์บนตัวมิเตอร์ ไปที่ตําแหน่งช่วงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง (ACV) (หมายเลขอ้างอิง 10) ซึ่งมี 4 ช่วงการวัดคือ 0-10V, 0-50V, 0-250V, 0-1000V

h3

คำเตือน (Warning)

  • โปรดอ่านข้อมูลในคู่มือสำหรับข้อมูลด้านความปลอดภัยก่อนติดตั้งหรือใช้งาน 

  • Please refer to the information in the manual for safety information before installing or operating the apparetus

2 ความคิดเห็น: